วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

006. ผลลัพธ์ หรือ จุดสรุป

ผลลัพธ์ หรือ จุดสรุป






ผลลัพธ์ หรือ จุดสรุป



เนื่องจากมีการให้ความสำคัญกับ "ผลลัพธ์" มากเกินไป ทำให้มองข้ามจุดวิกฤตที่มีความสำคัญอื่นๆ นั่นคือ "กระบวนการ"

จุดบอดนี้เอง เป็นตัวถ่วงความเข้าใจทางด้านธุรกิจอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคปัจจุบัน เศรษฐกิจเต็มไปด้วยความปั่นป่วน






งบกำไรขาดทุน ...
http://www.smethailandclub.com

ทำไมหนอ พวกเขาจึงใช้ ผลลัพธ์บรรทัดสุดท้ายเป็นตัววัดผมมาตั้งแต่อดีต ?

ผลลัพธ์สุดท้าย เป็นเพียงชุดของตัวเลข เบื้องหลังตัวเลขชุดนั้น คือ โลกที่เต็มไปด้วยความสับสนที่บังคับให้ "พลังความสามารถ" "ความนึกคิด" "ทรัพย์สินเงินทอง" และ สิ่งอื่นๆ หล่อหลอมเข้าด้วยกันเพื่อเป็นตัวกำหนด "กระบวนการผลิต" ชนิดของผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาที่ผลิต เป้าหมายผู้บริโภค และ ตัวผู้ผลิตเอง







วิธีการจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน ...
courseware.rmutl.ac.th


ผลลัพธ์สุดท้ายในงบการเงิน เพียงแต่บอกท่านว่าบริษัทได้ "กำไร" หรือ "ขาดทุน" เท่านั้น

แต่ไม่ได้เล่าให้คุณทราบว่าทำไม เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเกิดขึ้น และ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

นักเศรษฐศาสตร์เองก็ใช่ว่าจะมีฝีมือในการทำนายได้เหนือกว่าหมอดูลายมือ
เราควรจะทำความเข้าใจกับ "ธุรกิจ" ให้ลึกซึ้ง แทนที่จะมานั่งพยากรณ์เหตุการณ์ข้างหน้า "ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีเหตุผลเบื้องหลังเสมอ"







why invodo
http://www.invodo.com


: ทำไมคนงานในอุตสาหกรรม A. จึงถูกปลดออกมากมาย ในขณะที่ อุตสาหกรรม B. ขาดแคลนคนงานเป็นอย่างมาก

: ทำไม บริษัท C. จึงล้มละลาย ในขณะที่ บริษัทคู่แข่ง D. ประสบความสำเร็จ

: ทำไมการแข่งขันในอุตสาหกรรม E. จึงมีความรุนแรง ( Red Ocean) ในขณะที่ในอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง F. ไม่มีการแข่งขันแม้แต่น้อย (Blue Ocean)


นักธุรกิจส่วนใหญ่ ยังคงสับสนเกี่ยวกับ "ธุรกิจ" มากพอๆกับที่พวกเราต้อง"พึ่ง" มัน

ความรู้สึก ความนึกคิดของ "ประชาชน" เกี่ยวกับ ธุรกิจ มักไม่มีรูปร่างแน่นอน "พวกเรา" เป็นจำนวนไม่น้อยที่เกรงกลัวขนาดของบริษัทยักษ์ใหญ่ว่าจะทำให้การแข่งขันในตลาดเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์ หรือ เกิดการผูกขาด ขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน "เรา" ก็ต้องการ ให้บริษัทเหล่านี้ใหญ่ และ แข็งแกร่งพอที่จะแข่งขันกับบรรดา "ยักษ์ใหญ่" จากต่างประเทศได้

"พวกเรา" ใน ฐานะ ลูกจ้าง หรือ ผู้จัดการ ต้องการทำงานเพื่อทำ "กำไร" ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในขณะเดียวกัน "พวกเรา" ในฐานะของผู้บริโภคมักจะบ่นเมื่อสินค้าและบริการมี "ราคา" สูงขึ้น

ทำไม ทุกอย่างจึงมองได้สองแง่เสมอ ?
อาจจะเป็นเพราะว่า มันเป็นผลของความยากลำบากในการมอง "กระบวนการ" ธุรกิจทั้งภาพรวมกันก็ได้







... our very first business war game ...
theaimblogger.blogspot.com

สาเหตุใหญ่ คือ บริษัทต่างๆ มี "การแข่งขัน" ห้ำหั่น กันอย่างสม่ำเสมอ (บรรยากาศ เหยี่ยวล้วน หรือ Red Ocean) ผลของการรณรงค์ก็อย่างที่เห็นๆ ในที่สุด เรามี สบู่สารพัดยี่ห้อ ผงซักฟอกนาๆชนิด น้ำอัดลมหลายๆแบบ และ โรงงานที่ปิดๆ เปิดๆ ตลอดเวลา

การดิ้นรนของธุรกิจมักเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะลึกลับ

ชัยชนะของการแข่งขันใช่ว่าจะเกิดจาก "ขนาด กำลัง หรือ อำนาจ" อย่างเดียว

จริงอยู่ ธุรกิจบางอย่างอาจได้รับชัยชนะเพราะมันมีขนาดใหญ่ แต่ก็มีธุรกิจจำนวนไม่น้อย ที่ล้มเหลวเพราะขนาดมหึมาของมันเช่นกัน เพราะดันไปเจอคู่แข่งระดับเล็กกว่า ที่สามารถเขย่าบัลลังก็ที่ตนเอง "เคย" ครอบครองมา

นอกจากนี้ การฟาดฟันของธุรกิจยังเป็นสิ่งที่ต้องสับสนในหลายครั้ง อย่างเช่น ธุรกิจพยายามห้ำหั่นกัน เนื่องจากคู่กรณีทั้งสองฝ่ายไม่ถูกเส้นกันเป็นส่วนตัว จึงใช้ธุรกิจเป็นสิ่งบังหน้าเพื่อพยายามทำให้ฝ่ายตรงข้ามเจ็บปวด







... five forces of competition model
http://www.albuenviaje.com

Click ที่ภาพ เพื่อดูภาพขยาย

สนามรบขององค์การ โดยปกติมักเต็มไปด้วยคาวเลือด
และ องค์การต่างๆ ต้องพยายามระมัดระวังตัวไม่ให้ตกเป็นเหยื่อเคราะห์ร้าย มีใครวางหลุมกับดักขวางทางข้างหน้าไหม ?

มีวิธีการใดไหม ที่องค์การสามารถป้องกันตนเองมิให้ตกหลุมเหล่านี้ ?

เราควรต่อสู้เมื่อใด ? ต่อสู้กับใคร ? คำถามเหล่านี้ ไม่ใช่คำถามที่ตอบได้ง่ายๆเลย

ใช่ว่าธุรกิจสนใจ หรือ ต้องการที่จะต่อสู้ จริงๆแล้ว ธุรกิจก็เปรียบเสมือนทหารในสนามรบ ที่ต้องการออกจากห้วงอันตราย หรือ ทำอะไรก็ตามเพื่อให้ตนเองเสี่ยงน้อยที่สุด แต่บางครั้ง วิธีการเดียวที่ทหารจะป้องกันตนเองได้ คือ การเป็นผู้รุกรานแทนที่จะเป็นผู้หลบเลี่ยง หรือ ตั้งรับ


การตัดสินใจของ "คุณ" ก็ใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่ง่าย
โดยปกติแล้ว ในสนามรบ

:การที่คุณพยายามหาความปลอดภัยในวันนี้ อาจชักนำให้คุณเกิดอันตรายในวันพรุ่งนี้ก็ได้

:และ การที่คุณแสวงหาความมั่นคงในระยะยาวอาจเป็นชนวนให้คุณถูกฆ่าในวันนี้ก็ได้ สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ตัดสินใจลำบากมาก

ถ้ารัฐบาลไม่ควบคุมธุรกิจมากอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ระบบตลาดอาจะป็นระบบที่ดีกว่าและเหมาะสมกว่านี้ก็ได้

แต่ก็ไม่แน่ บางคนอาจคิดว่า ยิ่งธุรกิจถูกรัฐบาลควบคุมมากเพียงใด ระบบตลาดย่อมดีขึ้นและเหมาะสมยิ่งขึ้นเพียงนั้น

เรื่องราวของธุรกิจมีมากมายหลายประเภท บ้างก็เป็นเรื่องของธุรกิจขนาดยักษ์ ซึ่งมีอำนาจควบคุมตลาดได้เกือบหมด บ้างก็เป็นเรื่องของนายทุนที่สามารถชุบชีวิตประเทศได้ ถ้าเขามีโอกาส




Resource:
จาก: อารัมภบท P.15-18

เบื้องหลังความสำเร็จ และ ความล้มเหลวในวงการธุรกิจ
โดย พอล ซอลแมน และ โทมัส ฟรีดแมน
เรียบเรียงโดย ดร. ก้องเกียรติ โอภาสวงการ
จัดพิมพ์และจำหน่ายโดย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด







ภรดรภาพ ไม่มีขอบเขตในเรื่องชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น