สภาพแวดล้อมภายนอก
เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงได้ และ มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ หากผู้บริหารทราบถึงความเปลี่ยนแปลง และ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์การ ก็จะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้
ดังนั้น องค์กรจึงควรมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ เพื่อเป็นการประเมินหา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ขององค์การ ผลการวิเคราะห์มักถูกใช้เป็นรากฐานของการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อที่จะทำให้บรรลุตาม วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย หรือ นโยบายขององค์กร
การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)
การประเมิน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร เพื่อทำให้ทราบถึง โอกาส และ อุปสรรค และ
การประเมิน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในองค์กร เพื่อทำให้ทราบถึง จุดแข็ง และ จุดอ่อน ภายในองค์กร
SWOT Analysis Example
http://www.bizstrategies.biz
จะเรียกการวิเคราะห์นี้ว่า การวิเคราะห์ SWOT โดยที่
S = Strength คือ จุดแข็ง
W = Weakness คือ จุดอ่อน
O = Opportunity คือ โอกาส
T = Threats คือ อุปสรรค
S = Strength ( จุดแข็ง)
หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่สามารถกระทำได้ดี องค์กรจะต้องวิเคราะห์ การดำเนินงานภายใน เช่น การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต และ การวิจัยพัฒนา เพื่อพิจาณาเป็นระยะ องค์กรที่บรรลุความสำเร็จจะกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร โดยใช้ประโยชน์จาก จุดแข็ง ของการดำเนินงานภายในเสมอ
W= Weakness (จุดอ่อน)
หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่ทำได้ไม่ดี อาจเป็นเพราะการขาดแคลนทรัพยากรในองค์กรที่จะส่งเสริมให้การดำเนินงานลุล่วงด้วยดี ได้แก่ การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต การวิจัยพัฒนา ซึ่งเป็นข้อด้อยขององค์กร ที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ องค์กรจะต้องกำหนดกลยุทธ์ที่สามารถลบล้าง หรือ ปรับปรุง จุดอ่อน การดำเนินงานภายในเหล่านี้ให้ดีขึ้น
O = Opportunity (โอกาส)
หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอก ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กร องค์กรต้องคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และ การแข่งขัน อยู่เป็นระยะ เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งความเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลถึงความต้องการของผู้บริโภค ทัศนคติของพนักงาน ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตามความเปลี่ยนแปลงด้วย
T = Threats (อุปสรรค)
หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่คุกคามต่อการดำเนินงานขององค์กร สภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้ได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และ การแข่งขัน เป็นต้น ซึ่งส่งผลลบต่อการดำเนินงานขององค์กร เช่น ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง ทัศนคติของพนักงานแย่ลง ทำให้ต้องมีการปรับกลยุทธ์เพื่อขจัด หลีกเลี่ยง สภาพแวดล้อมที่ส่งผลลบต่อองค์กร
การเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพแวดล้อม
ในการวิเคราะห์ SWOT องค์กรควรได้ศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และ ภายนอกกิจการ เพื่อทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม และ ผลกระทบที่เกิดขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจทำได้หลายวิธีร่วมกัน ดังนี้
1. จากข้อมูล จากหน่วยงานเก็บรวบรวมไว้แล้ว
2. ข้อมูลจากพนักงานในองค์การ
3. หนังสือพิมพ์ วารสารทางธุรกิจต่างๆ
4. หน่วยงานของรัฐ หรือ เอกชน
5. ฐานข้อมูลต่างๆ ทั้งภายใน ภายนอกองค์กร
6. ข้อมูลจากลูกค้า และ ผู้จัดส่งวัตถุดิบ
7. ข้อมูลจากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญ
การพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม
นอกจากข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆแล้ว ธุรกิจอาจต้องพยากรณ์ คาดการณ์ ถึงสภาพแวดล้อมในอนาคต เช่น การพยากรณ์ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจ กำหนดกลยุทธ์ ที่เหมาะสม กับองค์กรต่อไป
การพยากรณ์ ทำได้หลายวิธีด้วยกัน ทั้งใน เชิงคุณภาพ และ เชิงปริมาณ ดังนี้
1. การใช้ข้อมูลจากอดีตมาคาดการณ์อนาคต
2. ใช้ข้อวิจารณ์ หรือ ความคิดเห็นของบุคคลต่างๆ
3. ใช้ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
4. ระดมสมอง
5. การคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคต
6. จากนักพยากรณ์อนาคต
7. ใช้สถิติในการวิเคราะห์ การถัวเฉลี่ย การวิเคราะห์อนุกรมเวลา การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis)
สภาพแวดล้อมของธุรกิจ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สภาพแวดล้อมภายนอก และ สภาพแวดล้อมภายใน ซึ่งมีวิธีการวิเคราะห์ดังนี้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)
สภาพแวดล้อมภายนอก เป็นปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุมขององค์กร มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นไปไม่ได้ที่จะติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ทุกอย่าง ผู้บริหารควรจะมุ่งเฉพาะปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญเท่านั้น โดยทั่วไป สภาพแวดล้อมภายนอก จะมีอยู่ สองส่วน คือ
1. สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment)
เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรง ต่อการดำเนินงานของกิจการ ประกอบไปด้วย ผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กร เช่น รัฐบาล ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ เจ้าหนี้ แรงงาน กลุ่มผลประโยชน์
2. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment)
เป็นปัจจัยที่ไม่กระทบต่อการดำเนินงานระยะสั้นขององค์กร แต่มีผลต่อการตัดสินใจในระยะยาว ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี ภูมิศาสตร์ และ ปัจจัยระหว่างประเทศ
สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินงานขององค์กร อาจะเรียกว่า การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industrial Analysis) คือ กลุ่มขององค์กรที่มีผลิตผลและบริการคล้ายคลึงกัน หรือ กลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมการดำเนินงานจะประกอบไปด้วยปัจจัยที่เฉพาะเจาะจง และ กระทบต่อการบริหารงานขององค์กรในทันที เช่น คู่แข่งขัน ลูกค้า แรงงาน และ ผู้จัดจำหน่าย
ซึ่งรูปแบบการวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่นิยมใช้กัน คือ รูปแบบการประเมินสภาพวะการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม (5-F Model) ของ Michael E. Porter หรือ Five Force Model ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัย คือ
1. การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ (New Entrants)
2. คู่แข่งขันในอุตสาหกรรม (Industry Compettitors)
3. การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทน (Substitutes)
4. อำนาจการเจรจาต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power OF Buyers)
5. อำนาจการต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (Bargaining Power of Suppliers)
1. การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ (New Entrants)
โดยทั่วไปผู้เข้ามาใหม่ จะเพิ่มกำลังการผลิตใหม่แก่อุตสาหกรรม ความต้องการส่วนแบ่งการตลาด และ ทรัพยากรของผู้มาใหม่ จะคุกคามต่อองค์กรที่มีอยู่เดิมทันที การคุมคามของผู้เข้ามาใหม่ จะขึ้นอยู่กับอุปสรรคการเข้ามา (Entry Barier) และ การตอบโต้จากคู่แข่งขันที่มีอยู่เดิม ถ้าเข้ามาในอุตสาหกรรมได้ง่าย ก็มีการแข่งขันสูง เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ อุปสรรคการเข้ามาในอุตสาหกรรม ได้แก่ การประหยัดต่อขนาด(Econnomics of scale) ความแตกต่างของสินค้า เงินลงทุนสูง ต้นทุนการเปลี่ยนผู้ขาย ความสามารถในการเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่าย และ นโยบายของรัฐ
2. คู่แข่งขันในอุตสาหกรรม (Industry Compettitors)
หรือ สภาพการแข่งขันระหว่างบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน การดำเนินการของคู่แข่งขันหนึ่งจะมีผลกระทบต่อคู่แข่งขันอื่น และอาจจะทำให้เกิดการตอบโต้ ความรุนแรงของสภาพการแข่งขันระหว่างองค์กรธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เหล่านี้
จำนวนคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม
อัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม ถ้าอุตสาหกรรมยังเติบโตสูง การแข่งขันก็ไม่รุนแรง
คุณลักษณะของสินค้าและบริการ มีความเหมือน หรือ ความต่างกัน
มูลค่าของต้นทุนคงที่
กำลังการผลิต
การออกจากอุตสาหกรรม ถ้าการออกไปยาก มีข้อจำกัด จะทำให้คู่แข่งขันไม่ได้ลดจำนวนลง การแข่งขันจะสูง
ข้อจำกัด ในการออกจากอุตสาหกรรม เช่น
- การลงทุนในโรงงานสูง ไม่สามารถนำไปใช้ในกิจการอื่น ไม่สามารถขายต่อได้
- ต้นทุนการออกจากอุตสาหกรรมสูง เช่น ค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง
- ความผูกพันที่มีต่ออุตสาหกรรม
- การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร / ต้นทุนคงที่ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน
- ความภาคภูมิใจของผู้บริหาร กลัวเสียหน้า เมื่อออกจากอุตสาหกรรม
- แรงผลักดันจากรัฐบาล
3. การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทน (Substitutes)
สินค้าทดแทนเป็นสินค้าหรือบริการ ที่สามารถนำไปใช้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค แทนสินค้าหรือบริการอื่นได้เช่นเดียวกัน หรือ ใกล้เคียงกัน เช่น เครื่องจักรสานพลาสติก แทน เครื่องจักรสานที่ทำด้วยหวาย การใช้น้ำตาลเทียมแทนน้ำตาลธรรมชาติ การใช้โทรสารแทนการส่งจดหมายถึงลูกค้า เครื่องเล่น VDO / VCD กลายเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนเครื่องฉายภาพยนตร์มากขึ้น
ธุรกิจในอุตสาหกรรมหนึ่ง จะเป็นคู่แข่งขันกับธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ที่ผลิตภัณฑ์ทดแทนได้ ทำให้มีข้อจำกัดในการกำหนดราคา และ ความสามารถในการทำกำไร คือ ถ้าตั้งราคาสูง ลูกค้าจะเปลี่ยนใจไปซื้อผลิตภัณฑ์ทดแทน เช่น ราคาเนื้อหมูขึ้นสูงมาก ผู้บริโภคหันไปซื้อเนื้อไก่แทน ดังนั้น ถ้ามีสินค้าทดแทน การแข่งขันจะสูง
4. อำนาจการเจรจาต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power OF Buyers)
ผู้ซื้อ หรือ ลูกค้า จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมด้วย ถ้าลูกค้ามีอำนาจต่อรอง สภาพการแข่งขันจะสูง เพราะลูกค้าสามารถที่จะกดดันราคาให้ต่ำลง และ คุณภาพของสินค้าและบริการดีขึ้น และสามารถเปลี่ยนไปใช้สินค้าของคู่แข่งขัน ผู้ซื้อจะมีอำนาจการเจรจาต่อรองสูงเมื่อ
ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ในสัดส่วนสูงจากบริษัท
ลูกค้ามีโอกาสรวมธุรกิจไปข้างหลัง (Backward Integrated) ไปสู่ธุรกิจที่จำหน่ายวัตถุดิบให้กับองค์กร เช่น กลุ่มผู้จำหน่ายรถยนต์ขู่ว่าจะประกอบรถยนต์เองแทนที่จะเป็นเพียงตัวแทนจำหน่าย
มีทางเลือกอื่นๆในการจัดซื้อมากมาย เนื่องจากสินค้าในตลาดไม่แตกต่างกันมาก ลูกค้าจะเลือกซื้อจากผู้ค้ารายใดก็ได้
ต้นทุนในการเปลี่ยนแปลงผู้จำหน่ายวัตถุดิบต่ำ (Low of switching cost)
5. อำนาจการต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (Bargaining Power of Suppliers)
ถ้าผู้จำหน่ายวัตถุดิบ หรือ Supplier มีอำนาจต่อรอง การแข่งขันจะสูง เนื่องจาก ผู้จำหน่ายวัตถุดิบสามารถกระทบอุตสาหกรรมได้ด้วยการขึ้นราคา หรือ ลดปริมาณของวัตถุดิบลง
ผู้จำหน่ายวัตถุดิบจะมีอำนาจการเจรจาต่อรองสูงเมื่อ
มีผู้จำหน่ายวัตถุดิบน้อยราย แต่จำหน่ายไปยังบริษัทจำนวนมาก
ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ ซื้อเป็นสัดส่วนที่น้อยจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบ เมื่อเทียบกับลูกค้ารายอื่น
ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบอื่นสูง เช่น ค่าใช้จ่ายในการปรับเครื่องจักร (เปลี่ยนจากรถยนต์ใช้น้ำมันเบนซิน ไปเป็นใช้ก๊าซ NGV)
ไม่มีผลิตภัณฑ์แทน
ผู้จำหน่ายวัตถุดิบสามารถรวมธุรกิจไปข้างหน้า สู่ธุรกิจที่เป็นลูกค้าขององค์กร (Foreward Intergrated) เช่น กลุ่มผู้กลั่นน้ำมัน จะตั้งปั๊มน้ำมันเอง
ในการวิเคราะห์การแข่งขัน กิจการควรรู้ว่าคู่แข่งขันของกิจการ คือใครบ้าง มีขีดความสามารถเมื่อเทียบกับกิจการเป็นอย่างไร และ ข้อมูลอื่นๆ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ให้ได้ดียิ่งขึ้น
ข้อมูลของ คู่แข่งขัน ที่ธุรกิจควรทราบได้แก่
มีใคร อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกับเราบ้าง
ใครมียอดขาย / ส่วนครองตลาดสูงสุด
ใครมีฐานะทางการเงิน และ กำไร ดีกว่ากัน
ใครมีกลยุทธ์ทางการตลาดเหนือกว่ากัน
ใครมีการขยายตัวตามแนวดิ่ง และ ใครมีการขยายตัวตามแนวนอน
ใครมีต้นทุนที่ต่ำกว่ากัน
โครงสร้าง และ วัฒนธรรมองค์กร ของคู่แข่งขัน
ใครคือผู้บริหาร และ ผู้ถือหุ้นใหญ่
ใครคือบุคลากรที่มีคุณภาพ
ใครมีเทคโนโลยีดีกว่ากัน ขนาดของโรงงาน อายุของเครื่องจักร
วิสัยทัศน์ในการบริหารองค์กร
การวิจัยและการพัฒนา
ภาพลักษณ์ขององค์กร
ศักยภาพของคู่แข่งขันในอนาคต
ผลที่ได้จากการวิเคราะห์คู่แข่งขัน เป็นประโยชน์ต่อกิจการ ดังนี้
ทำให้ทราบถึงข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ ด้านการแข่งขัน
ทำให้เข้าใจพฤติกรรม และ กลยุทธ์ของคู่แข่งขัน
สามารถทำนายกลยุทธ์ของคู่แข่งขันที่จะใช้
สามารถวางกลยุทธ์ของธุรกิจให้เหนือกว่าคู่แข่งขัน
นำผลวิเคราะห์ มาสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment)
สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี ปัจจัยระหว่างประเทศ รายละเอียดของแต่ละปัจจัย มีดังนี้
... hence it is External analysis.
veroniqca.blog.com
เศรษฐกิจ
- ผลิตผลประชาชาติ (GNP)
- แนวโน้มผลิตผลประชาชาติ (GNP Trend)
- ปริมาณเงิน (Money Supply)
- อัตราดอกเบี้ย (Interest rate)
- อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate)
- วงจรธุรกิจ (Business Cycle)
- การลดค่าเงิน (Devaluation)
- ตลาดหุ้น (Stock Market)
- วงจรธุรกิจ (Business Cycles)
- โครงสร้างเงินทุน (Capital)
- จำนวนแรงงาน (Labour Supply)
- การเพิ่มผลผลิต (Productivity)
สังคม และ วัฒนธรรม
- การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต (Lifestyle Change)
- สุขภาพ (Health)
- คุณภาพชีวิต
- การคำนึงถึงสภาพแวดล้อม (Environmentalism)
- ทัศนคติต่อการทำงาน และ อาชีพ (Attitude toward workม career)
- ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence)
- จำนวนและอัตราการเติบโตของประชากร
- ระดับการรู้หนังสือ
- การใช้เวลาว่าง
- จำนวนกลุ่มอาชีพต่างๆ
- การศึกษา (Education)
การเมือง และ กฎหมาย
- กฎ ระเบียบ ของรัฐ (Goverment Regulation)
- กฎหมาย สิ่งแวดล้อม (Environmental Laws)
- เสถียรภาพทางการเมือง (Political Stability)
- กฎหมายแพ่ง พาณิชย์ (Commercial Laws)
- กฎหมายด้านภาษี (Tax Laws)
- กฎหมายป้องกันการผูกขาด
- สหภาพแรงงาน (Union)
- การกีดกันทางการค้า
- กฎหมายระหว่างประเทศ
- กฎหมายแรงงาน
- กฎหมายลิขสิทธิ์
เทคโนโลยี
- ระบบสารสนเทศ
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
- ระบบ Automation
- การวิจัย และ การพัฒนา
- การถ่ายทอดเทคโนโลยี
ภูมิศาสตร์
- ลมฟ้าอากาศ
- การติดต่อขนส่ง
ปัจจัยระหว่างประเทศ
- นโยบายและการดำเนินงานในกลุ่มประเทศหนึ่งๆ
- บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ
สรุป
สภาพแวดล้อมภายนอก แบ่งออกเป็น สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร และ สภาพแวดล้อมภายในองค์กร การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเรียกว่า SWOT Analysis การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ทำให้ทราบถึง จุดแข็งและจุดอ่อน ส่วน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ทำให้ทราบถึง โอกาส และ อุปสรรค
สภาพแวดล้อมภายนอก มีอยู่ 2 ส่วน คือ สภาพแวดล้อมทั่วไป และ สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน
สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี ภูมิศาสตร์
สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อธุรกิจในอุตสาหกรรมนั้นๆ เช่น คู่แข่งขัน ลูกค้า รัฐบาล ชุมชน ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินการ บางที เรียกว่า การวิเคราะห์อุตสาหกรรม รูปแบบที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์คือ Porter’s 5 F Model ประกอบด้วยปัจจัย 5 ปัจจัย คือ การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ คู่แข่งขันในอุตสาหกรรม การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทน อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ และ อำนาจต่อรองของผู้ขาย
การวิเคราะห์ SWOT โดยละเอียด จะมีการให้ค่าคะแนน และ ถ่วงน้ำหนัก ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ละเอียดชัดเจนมากขึ้น ในการกำหนดกลยุทธ์ต่อไป
-----------------------------------------------------------------------
Entrepreneurs : The Energizers of Small Business
เศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคตของประเทศเรา จะดำเนินไปด้วยดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้ประกอบการในบ้านเมืองของเรานั่นเอง
------------------------------------------------------------------------
Freeman of Newcity
คติพจน์ เจซี.
เรามั่นใจว่า
ศรัทธาในคุณธรรม คือ ชวาลาแห่งชีวิต
ภราดรภาพ ไม่มีขอบเขตในเรื่องชาติ
เสรีชนและวิสาหกิจเสรี เป็นหลักชัยแห่งความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ
การปกครอง อยู่ที่กฏหมายมากกว่าบุคคล
บุคลิกภาพของมนุษย์ คือ ขุมทรัพย์มหาศาลแห่งพิภพ
และ งานบริการต่อมนุษยชาติ เป็นยอดงานของชีวิต
The Jaycee Creed
We Believe:
That faith in God gives meaning and purpose to human life;
That the brotherhood of man transcends the sovereignty of nations;
That economic justice can best be won by free men through free enterprise;
That government should be of laws rather than of men;
That earth's great treasure lies in human personality;
And that service to humanity is the best work of life.
OUR CREED, was written by C. William Brownfield in 1946. Adopted by the US Jaycees and Jaycees International, this simple statement of beliefs unites Jaycees around the world in a bond of friendship and purpose. These 65 words have become the third most important document in the lives of many, many people worldwide.
Freeman
นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง
สุดยอดคนคือกูรูผู้ให้ความรู้กับสังคม
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบ