วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

005. กลยุทธ์เหยี่ยว และ นกเขา

กลยุทธ์เหยี่ยว และ นกเขา










กลยุทธ์เหยี่ยว และ นกเขา

ในแต่ละปี มีกิจการหลายพันแห่งต้องล้มละลายไปในสหรัฐ การสูญพันธ์เป็นกระบวนการต่อเนื่อง

ทฤษฎีของดาร์วิน ได้มีอิทธิพลอย่างสูงต่อความคิดอ่านของ นาย บรูซ เฮนเดอร์สัน

สมมติฐานเกี่ยวกับการแข่งขันในสนามรบองค์การ หรือ ที่เรียกว่า สมมติฐานของเหยี่ยวและนกเขา

"เรามาเล่นเกมกันดู"
เกมนี้ เรียกว่า เกมเหยี่ยวและนกเขา คุณมีบทบาทอย่างใดอย่างหนึ่งในสองชนิด คือ เหยี่ยว หรือ นกเขา











ถ้าคุณเป็นเหยี่ยว
คุณจะสู้ตายทันที ที่คุณต่อสู้ จะไม่มีการประนีประนอมกับฝ่ายตรงข้าม










แต่ ถ้าคุณเป็นนกเขา คุณจะพยายามหลีกเลี่ยงการต่อสู้ ถ้าโอกาสที่คุณจะแพ้หรือบาดเจ็บมีมาก คุณจะยอมถอนตัว แทนที่จะเสี่ยง

กฏเกณฑ์ข้อสุดท้าย ของเกมนี้ คือ คุณไม่ทราบว่าผู้เล่นใดเป็นเหยี่ยว หรือ นกเขา

ดังนั้น คุณจะตัดสินใจสวมบทบาทของ "เหยี่ยว" หรือ "นกเขา" ได้อย่างไร?










ถ้าสมมติว่า คุณเล่นบทของเหยี่ยว
อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าคุณเผชิญกับเหยี่ยวอีกตัวหนึ่ง ?

: ง่ายนิดเดียว ไม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องถูฆ่าตาย

แล้ว อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าคุณเผชิญกับนกเขา ?

: คุณก็คงต้องการให้ฝ่ายนั้นคิดว่า คุณเป็นเหยี่ยว ถึงแม้ว่า คุณจะเป็นนกเขาก็ตาม ใช่ไหม ? ทั้งนี้ เพราะว่าฝ่ายตรงข้ามจะได้ถอนตัวออกไป


สมมติว่า เรามีรายได้รายจ่ายจากการชนะ หรือ แพ้ ในการเล่นเกมนี้
ทั้งนี้ เพราะเราคงไม่มีเหตุผลที่จะต่อสู้กัน ถ้าไม่มีผลตอบแทนอะไร

และ สมมติว่ารายได้รายจ่ายอยู่ในรูปขององค์ประกอบความอยู่รอดของดาร์วินแล้ว นั่นคือ ใครก็ตาม ที่มีกลยุทธ์เหนือกว่าย่อมสามารถสืบตระกูลได้บ่อยครั้งกว่าคู่แข่ง ?










เอาละ ถ้าสมมติว่าคุณสวมบทเหยี่ยวตลอดเวลา แน่นอนคุณย่อมจะแพ้ในวันใดวันหนึ่ง ตามทฤษฎีของดาร์วิน คุณอาจสามารถขับไล่นกเขาไปได้ชั่วขณะหนึ่ง แต่คุณจะก่อให้เกิดบรรยากาศ "เหยี่ยว ล้วน" ซึ่งทันทีที่คู่แข่งขันรับทราบคู่แข่งขันก็จะกลายเป็นเหยี่ยว และ ทำให้เกิดการต่อสู้ระหว่างเหยี่ยวต่อเหยี่ยวขึ้น

...ผล คือ เหยี่ยวตัวใดตัวหนึ่งจะถูกฆ่าตาย


ถ้า คุณเลือกเป็นนกเขาในโลกของเหยี่ยวล้วนนี้ นกเขาย่อมรอดตัวได้ ถ้ามันหนีการต่อสู้ นกเขาดังกล่าวจะไม่แพ้หรือชนะ กลยุทธ์นี้ย่อมดีกว่ากลยุทธ์เหยี่ยวใช้อยู่ การเล่นบทเหยี่ยวตลอดเวลาเป็นกลยุทธ์ที่อับเฉามาก ในทฤษฏีของดาร์วินนั้น หมายความว่า เหยี่ยวย่อมไม่สามารถครองแชมป์ได้โดยการถ่ายทอดพฤติกรรมเหยี่ยวไปให้ลูกรุ่นต่อไป











ในทำนองเดียวกัน ถ้าคุณสวมบทนกเขาตลอดกาล เหยี่ยวตัวใดก็ตามย่อมได้ใจ และ เอาชนะคุณ ในที่สุดเหยี่ยวก็จะมีมากขึ้นจนบรรยากาศน่ากลัวเกินไปสำหรับคุณ

...ดังนั้น กลยุทธ์นกเขาตลอดเวลาก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี

"เอาละ หน้าที่ของ บริษัทที่ปรึกษา คือ การให้คำปรึกษาแก่บริษัทว่า ควรจะใช้กลยุทธ์อะไรในสิ่งแวดล้อมต่างๆ"

"มีกลยุทธ์อะไรที่เหมาะสมไหมในสภาพการต่างๆ ?"

มีแน่ ในเกมที่มีการได้เสีย กลยุทธ์ผสมระหว่าง "บทเหยี่ยว" และ "บทนกเขา" จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

บริษัทที่สามารถอยู่รอดได้ในสนามรบขององค์การ คือ บริษัทที่สามารถปรับตัวและพัฒนากลยุทธ์ใหม่ให้เหมาะสม เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งต้องปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเสมอ ถ้าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ขยายพันธุ์ขึ้น นั่นคือ ถ้าองค์ประกอบแห่งความอยู่รอดของดาร์วินมีค่าสูงกว่า 1 แล้ว รุ่นลูกย่อมมีจำนวนมากกว่ารุ่นพ่อ (องค์ประกอบความอยู่รอดของดาร์วินมีค่าเท่ากับ 1 เมื่อ อัตราการเติบโตของประชากรเป็นศูนย์ มีค่าน้อยกว่า 1 ถ้าอัตราการเติบโตของประชากรมีค่าลดลง)


ในแง่ของ นายเฮนเดอร์สัน องค์ประกอบความอยู่รอดของดาร์วินมีค่ามากกว่า 1 เปรียบเหมือนกับ บริษัทที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มทรัพย์สินรวมนั่นเอง


นายเฮนเดอร์สัน เชื่อว่า ถ้าคุณสามารถคำนวณผลได้เสียของการประจัญหน้าในธุรกิจ และ สามารถคำนวณโอกาสที่คู่แข่งใช้กลยุทธ์เหยี่ยว / นกเขา แล้ว ธุรกิจของคุณย่อมโตขึ้นและอยู่รอดได้ การที่คุณเข้าใจการแข่งขันย่อมช่วยให้คุณเลือกกลยุทธ์ได้ถูกต้อง และ ช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงวิธีการที่นำไปสู่ความหายนะ


จากหนังสือเรื่อง
เบื้องหลังความสำเร็จ และ ความล้มเหลวในวงการธุรกิจ
โดย พอล ซอลมอน
และ โทมัส ฟรีดแมน
เรียบเรียงโดย ดร. ก้องเกียรติ โอภาสวงการ
หน้า 28-30




สรุป
ในบรรยากาศ "เหยี่ยวล้วน" การเล่นบทบาท "นกเขา" น่าจะเป็นสิ่งที่ดี
และ ในบรรยากาศ "นกเขาล้วน" การเล่นบทบาท "เหยี่ยว" น่าจะเป็นสิ่งที่ดี

หรือ ท่านคิดว่า ควรจะเป็นอย่างไรเอ่ย







Starend

งานบริการ เป็น ยอดงานของชีวิต


ภาพประกอบ : ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องจาก http://www.










Darwin theory papers available ...









Predator vs Predalien









jurassic park movie









King Kong








วิสาหกิจเสรี คือ หลักชัยแห่งความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น