วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

003. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน



Environmental analysis should be ...
veroniqca.blog.com
[ เพิ่มเติมจาก http://www.marketingteacher.com ]




บทที่ 3.
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment Analysis)



การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของอุตสาหกรรม ซึ่งจะสร้างโอกาส และ อุปสรรค และ ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญใหม่ๆขึ้นมา ผู้บริหารจึงต้องประเมินทรัพยากรและความสามารถขององค์กร โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในด้วย ทั้งนี้เพื่อทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรด้วย

สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment Analysis) เป็นปัจจัยภายในที่ขึ้นกับทรัพยากรและความสามารถขององค์กรเอง

ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารสามารถควบคุมได้ (Controllable Factor)

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน มีการวิเคราะห์ได้หลายวิธี ที่นิยมกันได้แก่

1. การวิเคราะห์ตามหน้าที่ (FUNCTIONAL ANALYSIS)

2. การวิเคราะห์ปัจจัย 7 ประการของ McKinsey (Mckincy 7-S Framwork)

3. สายโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Analysis)


การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กรตามหน้าที่การปฏิบัติงาน

การวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โดยพิจารณาจากสายงาน หรือ หน้าที่ของงานด้านต่างๆ โดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน หรือ การดำเนินงานที่ผ่านมาในอดีต การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ


การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การตามหน้าที่การปฏิบัติงาน ประกอบด้วย

1. ด้านการบริหารโดยพิจารณา

1.1 ทักษะ และ ความสามารถของผู้บริหาร
1.2 โครงสร้างองค์กร
1.3 ระบบการวางแผน
1.4 มาตรฐานกระบวนการปฏิบัติงาน
1.5 ระบบการควบคุม
1.6 วัฒนธรรมองค์กร
1.7 จรรยาบรรณของผู้บริหาร

2 ด้าน เทคโนโลยี โดยพิจารณาจาก

2.1 ต้นทุน (COST OF TECHNOLOGY)
2.2 การประหยัดจากขนาดการผลิต (Economic of scale)
2.3 การเพิ่มผลผลิต (PRODUCTIVITY)
2.4 ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Conpetitive Advantage)
2.5 ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Technology)


3 ด้าน การบริหารทรัพยากรมนุษย์

3.1 ทัศนคติของพนักงาน
3.2 ทักษะความสามารถในการทำงาน
3.3 ประสบการณ์
3.4 จำนวนพนักงาน
3.5 อัตราการขาดงาน / การเข้าออกของพนักงาน
3.6 การจ่ายค่าตอบแทน เงินเดือน และ สวัสดิการ
3.7 ขวัญ และ กำลังใจ
3.8 การวิเคราะห์งาน
3.9 ระบบสรรหา และ คัดเลือก


4 ด้าน การผลิตโดย พิจารณา

4.1 เครื่องจักร
– มีประสิทธิภาพ
– การดัดแปลงใช้กับงานอื่น
– ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง
– ความพร้อมของเครื่องจักร อุปกรณ์

4.2 วัตถุดิบ
- ปริมาณ
– ต้นทุน
– จำนวนผู้ผลิต และ ผู้ขาย
- จุดสั่งซื้อ และ ระยะเวลาในการสั่งซื้อ
- การจัดซื้ออย่างมีคุณภาพ

4.3 กระบวน
– กระบวนการผลิต
– กำลัง และ ขีด ความสามารถการผลิต
– ระบบควบคุม ระบบคุณภาพ
– มีระบบสารสนเทศ สนับสนุนการผลิต

4.4 การบริหารสินค้าคงเหลือ
- คุณภาพของสินค้า
- ต้นทุนสินค้า ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ และการเก็บ
- ปริมาณการผลิตที่เหมาะสม ปริมาณสินค้าคงคลัง


5. ด้าน การตลาดโดย พิจารณา

5.1 ส่วนแบ่งตลาด (SEGMENTATION)
5.2 กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (TARGET MARKET)
5.3 ตำแหน่งของตลาด (POSITIONING)
5.4 ผลิตภัณฑ์ (PRODUCT)
5.5 ราคา (PRICE)
5.6 ช่องทางการจัดจำหน่าย (PLACE)
5.7 การส่งเสริมการขาย/การตลาด (PROMOTION)
5.8 วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์


6. ด้าน การเงิน โดยพิจารณาจาก

6.1 แหล่งที่มาของเงินทุน
6.2 ต้นทุนของเงินลงทุน
6.3 ปริมาณเงินทุน
6.4 ระยะเวลาการใช้คืนเงินทุน
6.5 โครงสร้างของเงินทุน
6.6 สภาพคล่องทางการเงิน
6.7 ความเสี่ยงทางธุรกิจ


การวิเคราะห์สภาพทางการเงินของกิจการ

สามารถทำได้โดยใช้

1.การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
2.การวิเคราะห์งบการเงิน

1.2.1 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

1.2.2 การวิเคราะห์งบการเงิน


1.อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratios)


1.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)

วัดความสามารถชำระหนี้ระยะสั้น ด้วยทรัพย์สินระยะสั้น


1.2 อัตราส่วนทรัพย์สินคล่องตัว (Quick (Acid Test)Ratio)

วัดความสามารถชำระหนี้ระยะสั้นด้วยทรัพย์สินหมุนเวียนที่ไม่รวมสินค้าคงเหลือ


1.3 อัตราส่วนเงินสด (Cash Ratios)

วัดความสามารถชำระหนี้หนิ้สินหมุนเวียนด้วยเงินสด หรือ ทรัพย์สินที่ใกล้เคียงเงินสด


2.อัตราส่วนการทำกำไร (Profitability Ratios)


2.1 อัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net Profit Margin)

แสดงให้เห็นถึงกำไรหลังจากหักภาษี จากยอดขายแต่ละบาท


2.2 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)

ชี้ให้เห็นถึงกำไรขั้นต้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่นอกเหนือจากต้นทุนขาย


2.3 ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) (Return On Investment)
วัดอัตราผลตอบแทนจากการใช้ทรัพย์สินรวม/ประสิทธิภาพ การบริหารงาน


2.4 ผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของ (ROE) (Return On Equity)
วัดอัตราผลตอบแทนจากมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนภายในบริษัทของผู้ถือหุ้น


2.5 กำไรต่อหุ้น (EPS) (Earning Per Share)

แสดงให้เห็นถึงกำไรหลังภาษีต่อหุ้นสามัญหนึ่งหุ้น



3.อัตราส่วนการใช้ทรัพย์สิน (Activity Ratios)


3.1 การหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
วัดจำนวนครั้งที่สินค้าคงเหลือถูกจำหน่ายภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติคือหนึ่งปี


3.2 การหมุนเวียนของทุนดำเนินงานสุทธิ (Net Working Capital Turnover)

วัดประสิทธิภาพของทุนดำเนินงานสุทธิเพื่อการสร้างยอดขาย


3.3 ระยะเวลาการเก็บหนี้ (Average Collection Period)

ชี้ให้เห็นถึงจำนวน วันที่บริษัทต้องรอเพื่อการเก็บเงินจากลูกหนี้


3.4 การหมุนเวียนของลูกหนี้

ชี้ให้เห็นถึงจำนวนครึ่งของวงจรลูกหนี้ในระหว่างปี



4.อัตราส่วนความสามารถในการก่อหนี้ (Leverage Ratios)


4.1 อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สิน (Debt to Asset Ratio)

ชี้ให้เห็นถึงเงินทุนกู้ยืมที่ถูกใช้เพื่อการซื้อทรัพย์สินของบริษัท


4.2 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity Ratio)

ชี้ให้เห็นถึงสัดส่วนระหว่างเงินทุนจากเจ้าหนี้ และ เงินทุนจากเจ้าของ


4.3 หนี้สินระยะยาวต่อโครงสร้างของเงินทุน (Long Term Debt to Capital)

ชี้ให้เห็นถึงหนี้สินระยะยาวภายในโครงสร้างของทุน


4.4 อัตราส่วนความสามารถจ่ายดอกเบี้ย (Time Interest Earned)
วัดความสามารถชำระดอกเบี้ยบริษัท



4.5 อัตราส่วนความสามารถจ่ายค่าใช้จ่ายทางการเงิน (Cov of Fix Charge)
วัดความสามารถชำระภาระผูกพันรายจ่ายประจำทุกอยางของบริษัท


4.6 หนี้สินหมุนเวียนต่อส่วนของเจ้าของ (Current Liabilities to Equity)
วัดสัดส่วนระหว่างเงินกู้ระยะสั้นและส่วนของเจ้าของ



5.อัตราส่วนอื่นๆ

5.1 อัตราส่วนราคา / กำไร (Price Earning Ratio)

ชี้ให้เห็นถึงราคาปัจจุบันของหุ้นบนพื้นฐานของกำไร


5.2 อัตราส่วนการจ่ายเงินปันผล (Dividend Pay-out Ratio)
ชี้ให้เห็นถึงร้อยละของกำไรที่จ่ายเป็นเงินปันผล




แบบจำลอง 7-S หรือ การวิเคราะห์ปัจจัย 7 ประการของ McKinsey (Mckincy 7-S Framwork)
McKinsey ได้พัฒนาแบบจำลอง 7- S ขึ้นมาด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญ 3 ประการคือ

1. ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจวัฒนธรรมองค์กร

2. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถประเมินองค์การตาม 7-S

3. การวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างปัจจัยทางการบริหารทั้ง 7









รูปแบบจำลอง 7 – S ของ Mckinsey


แนวคิดของ Mckinsey คือ ความมีประสิทธิภาพขององค์กรจะเกิดขึ้นจากความเกี่ยวพันกันระหว่างปัจจัย 7 ประการ คือ

1.โครงสร้าง (STRUCTURE) หมายถึง การจัดสายงานและความสัมพันธ์ของหน่วยงานต่างๆ ที่องค์การกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการ ทำให้ทราบว่าใครเป็นผู้บังคับบัญชา ดูแลหน่วยงานใดบ้างโครงสร้างองค์กรแสดงให้เห็นถึง การจัดหมวดหมู่งาน การแบ่งงานกันทำ อำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ สายบังคับบัญชา และ การประสานงาน

2.กลยุทธ์ (STRATEGY) หมายถึง กลวิธีในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยการแบ่งสรรทรัพยากรที่ธุรกิจมีอยู่ เพื่อดำเนินการในเวลาต่างๆ ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม และ การแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป

3.ระบบ (SYSTEM) หมายถึง ระบบในการบริหารงานประจำวัน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวกเรียบร้อย เช่น ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบบัญชี และ ระบบงบประมาณ

4.สไตล์ (STYLES) หมายถึง ลักษณะแบบแผน หรือ พฤติกรรมในการบริหารของผู้บริหารระดับสูงขององค์การ และ พนักงานในองค์กร

5.คน (STAFF) หมายถึง ลักษณะและส่วนประกอบของสมาชิกในองค์กร ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารและพนักงานว่า มีคุณลักษณะและคุณสมบัติ คุณวุฒิอย่างไร ซึ่งควรจะเหมาะสมกับลักษณะโครงสร้างองค์กรและงานที่ต้องปฏิบัติ

6.ทักษะ (SKILLS) หมายถึง ความรู้ ความชำนาญ ของสมาชิกในองค์การที่เป็นจุดเด่น หรือ เป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน

7.ค่านิยมร่วม (SHARED VALUES) หมายถึง ค่านิยมร่วมกันของสมาชิกในองค์การ ซึ่งเป็นสิ่งที่สมาชิกทุกคนยึดถือในการปฏิบัติงานร่วมกัน




THE VALUE CHAIN ANALYSIS (การวิเคราะห์ ห่วงโซ่แห่งคุณค่า)






value chain analysis
http://www.provenmodels.com



แนวคิดแห่งห่วงโซ่แห่งคุณค่า แสดงให้เห็นถึง “ คุณค่า” ทั้งหมดที่องค์กรมอบให้แก่ลูกค้า จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์กร
แบ่งออกได้ 2 ประเภท

1. กิจกรรมหลัก / กิจกรรมพื้นฐาน
2. กิจกรรมสนับสนุน

1. กิจกรรมพื้นฐาน (Primary activity) ประกอบด้วย

1.1 การนำวัสดุอุปกรณ์ สินค้ามาใช้ในธุรกิจ (Inbound logistics)
:กิจกรรมที่เกี่ยวกับ การขนส่ง การจัดเก็บ และ การแจกจ่ายวัตถุดิบ

1.2 การดำเนินงานของฝ่ายต่างๆ ที่ต้องประสานงานกัน (Operations)
:การแปรวัตถุดิบให้เป็นสินค้า การบรรจุหีบห่อ /รักษาเครื่องจักร

1.3 การจัดส่งสินค้าออก (Outbound logistics)
:กิจกรรมเกี่ยวกับ การจัดเก็บรวบรวม การจัดจำหน่ายสินค้าและบริการที่เสร็จแล้วไปยังผู้บริโภค และ การบริหารสินค้าคงคลัง

1.4 การตลาด และ การขาย (Marketing and sales)
:กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการ เช่น การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การเลือกช่องทางการจัดจำหน่าย

1.5 ผลิตภัณฑ์ และ การให้บริการ (Product and Services)
:กิจกรรมที่เกี่ยวกับ การให้บริการ บำรุงรักษาสินค้า การบริการหลังการขาย เช่น การติดตั้ง การซ่อมบำรุง การอบรมการใช้สินค้า


2. กิจกรรมสนับสนุน (Support activities) ประกอบด้วย

2.1 โครงสร้างธุรกิจ (Firm infrastructure)
:ได้แก่ การบริหารงานทั่วไป การ วางแผน บัญชี การเงิน และ MIS

2.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management)
:ได้แก่ การสรรหา และ คัดเลือก การฝึกอบรม เงินเดือน / ค่าตอบแทน

2.3 การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology management)
:ได้แก่ การพัฒนา การออกแบบสินค้า การออกแบบกระบวนการผลิต

2.4 การจัดซื้อสินค้า และ ปัจจัยการผลิต (Procurement)
:ได้แก่ การจัดหา หรือ การจัดซื้อวัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ






No one can go back and change a bad beginning:
But anyone can start now and create a successful ending.

- Unknown


Entrepreneurs : The Energizers of Small Business

เศรษฐกิจในอนาคตของเรา จะดำเนินไปด้วยดีหรือไม่นั้น ก็จะต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้ประกอบการในบ้านเมืองเรานั่นเอง

---------------------------------------------------------------------



Freeman of Newcity


คติพจน์ เจซี.

เรามั่นใจว่า
ศรัทธาในคุณธรรม คือ ชวาลาแห่งชีวิต
ภราดรภาพ ไม่มีขอบเขตในเรื่องชาติ
เสรีชนและวิสาหกิจเสรี เป็นหลักชัยแห่งความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ
การปกครอง อยู่ที่กฏหมายมากกว่าบุคคล
บุคลิกภาพของมนุษย์ คือ ขุมทรัพย์มหาศาลแห่งพิภพ
และ งานบริการต่อมนุษยชาติ เป็นยอดงานของชีวิต


The Jaycee Creed

We Believe:
That faith in God gives meaning and purpose to human life;
That the brotherhood of man transcends the sovereignty of nations;
That economic justice can best be won by free men through free enterprise;
That government should be of laws rather than of men;
That earth's great treasure lies in human personality;
And that service to humanity is the best work of life.


OUR CREED, was written by C. William Brownfield in 1946. Adopted by the US Jaycees and Jaycees International, this simple statement of beliefs unites Jaycees around the world in a bond of friendship and purpose. These 65 words have become the third most important document in the lives of many, many people worldwide.


Freeman



นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น